ภารกิจ>>งานกิจการชุมชนและบริการสังคม>>งานบริการสังคม>>การทำงานบริการสังคมตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง



การทำงานบริการสังคมตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

          1. การทำงานบริการสังคมตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25)  .. 2559 มาตรา 56 เป็นกรณีที่ศาลรอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้แก่ผู้กระทำผิดไม่เกินห้าปี  โดยศาลอาจกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุม
ความประพฤติไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ซึ่งเงื่อนไขการคุมความประพฤติข้อหนึ่งได้แก่ การให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้
เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้สอบถาม แนะนำ
 ช่วยเหลือ หรือตักเตือนตามที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพหรือจัดให้ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์  ซึ่งมีพระราชบัญญัติและระเบียบที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.1  พระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559  มาตรา 29  เป็นกรณีที่พนักงานคุมประพฤติจัดให้ผู้ถูกคุม
ความประพฤติทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามคำสั่งศาลหรือ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ต้องพิจารณา ข้อมูลคดี ข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วย
  อีกทั้งงานที่จัดให้ทำจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนาตลอดจนปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง

                               1.2  ระเบียบกรมคุมประพฤติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ พ.ศ. 2560   เพื่อรองรับการดำเนินงานของพนักงานคุมประพฤติในการจัดให้ผู้ถูกคุมความประพฤติทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ
คุมประพฤติ พ.ศ. 2559  มาตรา 29
 

        2. การทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25)  .. 255  มาตรา 30/1  เป็นมาตรการลงโทษทางเลือก ให้กับผู้ต้องโทษปรับที่ไม่ใช่นิติบุคคลและไม่มีเงินชำระค่าปรับ ซึ่งโดยปกติหากไม่มีเงินชำระค่าปรับจะต้องถูกนำตัวไปกักขังแทนค่าปรับ แต่มาตรานี้ให้สิทธิผู้ไม่มีเงินชำระค่าปรับสามารถยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับได้

                   ดังนั้นเป้าหมายของการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ จึงเป็นการที่ให้ผู้กระทำผิดที่ไม่มีเงินชำระค่าปรับทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ โดยคำนึงถึงระยะเวลาและประเภทงานตามคำสั่งศาลโดยเคร่งครัด แตกต่างกับการทำงานบริการสังคมตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25)  .. 2559 (มาตรา 56) ชึ่งเป็นเรื่องการทำงานบริการสังคมโดยเป็นเงื่อนไขในการคุมความประพฤติ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู และการชดเชยความผิดแก่ผู้เสียหายและสังคม 

        3. การทำงานบริการสังคมตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545  มาตรา 23 (4)
 เป็นกรณีที่ใช้การทำงานบริการสังคมเป็นวิธีการหนึ่งในการจัดทำแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ร่วมกับการดำเนินการอื่นที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดำรงชีวิตห่างไกลจากยาเสพติด